วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การต่อ SIMATIC HMI TP700 COMFORT กับ S7 300 CPU 315 2 dp (6es7 315-2ag10-0ab0) รุ่นเก่า

     วันนี้ได้ไปหน้างานซึ่งเป็นโรงงานเลื่อยไม้ได้ซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ใช้ PLC ยี่ห้อ Siemens รุ่น S7 300 CPU 315 2 dp เป็น CPU  รุ่นเก่าพอสมควร จึงทำให้การเชื่อมต่อกับจอ SIMATIC HMI TP700 COMFORT รุ่นใหม่ เป็นเรื่องที่จัดการยากพอสมควร

       เข้าเรื่องกันเลยนะครับ  ผมได้เขียนโปรแกรมด้วย Step V5.5+SP1 เนื่องจาก S7 300 CPU 315 2 dp ใช้ firmware 2.0 โปรแกรม TIA Protal ไม่ Support เนื่องจากใช้ firmware 2.6



ที่สำคัญอย่าลืมกำหนด Tag ใน Symbol Table ดังรูปด้านล่าง


*******  จากนั้น Download เข้าไปใน PLC  ************


ในส่วนของ SIMATIC HMI TP700 COMFORT  ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม TIA  Portal V.13 สร้างโปรเจคใหม่ แล้วเพิ่มอุปกรณ์ใหม่(Add new device)


ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ PLC ให้กดปุ่ม Finish ได้เลยครับ



2. สร้าง Connection ขึ้นมาเองตั้งชื่ออะไรก็ได้ ในตัวอย่างด้านล่าง ตั้งชื่อ Connection_1 เลือก Communication driver เป็น SIMATIC S7 300/400 และเลือก Online 


***SIMATIC HMI TP700 COMFORT  กับ S7 300 CPU 315 2 dp  เชื่อมต่อ ผ่าน MPI ***
เนื่องจากอุปกรณ์ทั้ง 2 ตั้งการเชื่อมต่อแบบ MPI เป็นค่าเริ่มต้นดังรูปด้านล่าง
รูป interface type: MPI ของ HMI

รูป interface type: MPI ของ PLC
3.สร้าง HMI tags  ให้ Address ตรงกับใน Symbol Table ดังรูปด้างล่าง อย่าลืมเลือก Connection ให้ตรงกับข้อ 2.


4.สร้างหน้าจอในส่วน Root screen


กำหนด Tag ให้ตรงกับ ข้อ 3.


5. ให้ทำการ Download เข้า HMI โดยการกดปุ่ม Download to device




นำสายต่อ HMI กับ PLC ผ่าน MPI



วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ตัวอย่างเขียนไม่ถูกต้อง กลุ่มคำสั่ง Bit Logic

1.การใส่ Positive Transittion ไว้หน้า สวิชท์ วงจงจะไม่ได้ทำงาน เนื่องจากสัญญานจะผ่าน Positive Transittion ได้แค่ scan time ซึ่งทำงานเร็วมาก


2.การใส่ Positive Transittion ไว้หน้า output จะทำไม่ทำงานค้าง


จงเขียนโปรแกรมควบคุมการเลือกโหมดการทำงานระหว่าง Auto กับ Manual โดยใช้สวิตช์ ตัวเดียว



ขอบคุณที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=HZMjUTWcU9Y


ตัวอย่าง ใช้สวิทช์ 1 ตัว(I0.0) เปิด-ปิดอุปกรณ์(Q0.0) แล้วใช้ คำสั่ง Positive Transittion ป้องกันอันตรายจากการกดสวิทช์(I0.0)ค้าง





ขอบคุณที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=HZMjUTWcU9Y

คำสั่ง Positive Transittion กับ Negative Transittion




*** ช่วยป้องกันการกดสวิชท์ค้าง  จะเกิดอันตรายได้ ***




ขอบคุณที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=HZMjUTWcU9Y

หลักสูตร PLC

OMRON BASIC


เหมาะสำหรับ

  • นักศึกษาเตรียมเข้าทำงานโรงงาน
  • พนักงานโรงงานเพิ่มความรู้ระบบ PLC

สิ่งผู้เรียนที่ผู้เรียนได้รับ

  • ใบรับรองผ่านการฝึกอบรม
  • เอกสารประกอบการเรียน
  • ให้คำปรึกษาฟรี หลังการฝึกอบรม

ความรู้ที่ได้

  • Load/Upload Program จาก PLC ได้
  • วิเคราะห์อาการเสียของ PLC จาก Error Code
  • ต่อวงจรเพื่อใช้งาน PLC
  • เขียนโปรแกรม PLC เพื่อควบคุมอุปกรณ์ภายนอก
  • ตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรม PLC
  • อ่านและเขียนโปรแกรม Lader ได้
  • ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง Scan Timer

เนื้อหาการเรียน PLC

  • โครงสร้างและหลักการทำงานของ PLC
  • การเขียนโปรแกรมโดยใช้ซอฟต์แวร์ CX- Programmer
  • การกำหนด Address ของ Input/Output
  • หน่วยความจําภายใน PLC (Internal Relay)
  • การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ CX-Programmer
  • การใช้คำสั่งพิ้นฐาน ( Basic Instruction )
  • แลดเดอร์ไดอะแกรมพื้นฐาน ( LD , AND , OR )
  • คำสั่งใช้ควบคุมบิต ( SET , RESET , KEEP , DIF UP , DIF DOWN )
  • คำสั่งไทม์เมอร์/เคาท์เตอร์ ( TIMER , Counter )
  • การใช้คำสั่งพิเศษ ( Special Intruction )
  • การ Read/Write โปรแกรม
  • วิธีการทํา Online Edit
  • เข้าใจการทำงานแบบ ScanTime
  • เทคนิคการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นและการประยุกต์ที่ใช้คำสั่ง, ฝึกเขียนโปรแกรม PLC เพื่อควบคุมการทำงานระบบงานต่างๆ
  • แบบฝึกหัด

เวลาเรียน

  • 2 วัน
  • 9.00-17.00 น.


เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่มีความเข้าใจ PLC Omron ระดับ BASIC
  • ผู้ออกแบบระบบและติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ PLC Omron ในการทำงาน

สิ่งผู้เรียนที่ผู้เรียนได้รับ

  • ใบรับรองผ่านการฝึกอบรม
  • เอกสารประกอบการเรียน
  • ให้คำปรึกษาฟรี หลังการฝึกอบรม

ความรู้ที่ได้

  • เข้าใจและสามารถควบคุมข้อมูลประเภท Data ได้
  • เปรียบเทียบ,จัดเก็บ และเรียกใช้ Data ได้
  • เข้าใจและสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม PLC Omron ได้(โปรแกรมที่ถูกเขียนโดยผู้อื่น)
  • ควบคุม Input/Output ประเภท Analog ได้
  • ผู้เรียนเข้าใจและสร้างระบบสื่อสารระหว่าง PLC ได้

เนื้อหาการเรียน PLC

  • เลขฐาน 2 กับสัญญาณไฟฟ้า
  • เลขฐาน 16 กับสัญญาณไฟฟ้า
  • ประเภทข้อมูลใน PLC
  • การแปลงข้อมูลระหว่าง Data และ Bit
  • คำสั่งในกลุ่มที่ใช้เพิ่ม/ลดค่าครั้งละหนึ่ง(increment/Decrement)
  • คำสั่งย้ายข้อมูล (Move)
  • การใช้คำสั่งแปลงชนิดข้อมูล
  • คำสั่งทางคณิตศาสตร์ (ADD/SUB/MUL/DIV)
  • Timer + Data Register
  • Counter + Data Register
  • ระบบควบคุมแบบอนาลอก (Analog)
  • การใช้อนาลอกอินพุท/เอาท์พุทยูนิต
  • คำสั่งกลุ่มที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล (SCL)
  • แนะนำการเชื่อมต่อ PLC HMI
  • การสั่งงานผ่าน HMI

เวลาเรียน

  • 2 วัน
  • 9.00-17.00 น.


เหมาะสำหรับ

  • นักศึกษาเตรียมเข้าทำงานโรงงาน
  • พนักงานโรงงานเพิ่มความรู้ระบบ PLC

สิ่งผู้เรียนที่ผู้เรียนได้รับ

  • ใบรับรองผ่านการฝึกอบรม
  • เอกสารประกอบการเรียน
  • ฟรีให้คำปรึกษา หลังการฝึกอบรม

ความรู้ที่ได้

  • Load/Upload Program จาก PLC ได้
  • วิเคราะห์อาการเสียของ PLC จาก Error Code
  • ต่อวงจรเพื่อใช้งาน PLC
  • เขียนโปรแกรม PLC เพื่อควบคุมอุปกรณ์ภายนอก
  • ตรวจสอบและแก้ไขโปรแกรม Ladder ได้
  • ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง Scan Timer

เนื้อหาการเรียน PLC

  • The SIMATIC S7 System Family
  • The SIMATIC MANAGER
  • Hardware Configuration
  • Block Architecture and Block Editor
  • Symbols
  • Binary Operations
  • Digital Operations
  • Analog Value Processing
  • Documenting,Saving,Archiving
  • Communication with MPI

เวลาเรียน

  • 3 วัน
  • 9.00-17.00 น.

เหมาะสำหรับ

  • นักศึกษาหรือพนักงานโรงงานที่ผ่านการเขียนโปรแกรม PLC เบื้องต้นมาแล้ว
  • พนักงานโรงงานเพิ่มความรู้ระบบ PLC

สิ่งผู้เรียนที่ผู้เรียนได้รับ

  • สิ่งผู้เรียนที่ผู้เรียนได้รับ
  • ใบรับรองผ่านการฝึกอบรม
  • เอกสารประกอบการเรียน
  • ฟรีให้คำปรึกษา หลังการฝึกอบรม

ความรู้ที่ได้

  • เมื่อจบหลักสูตรสามารถใช้งาน PLC และต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับ PLC ได้
  • รู้จักโครงสร้างภายใน PLC, ในส่วนของ Program Memory, และ Data Memory
  • เข้าโปรแกรมเพื่อแก้ไข LADDER Logic ภายใน PLC
  • ออกแบบระบบควบคุมโดยใช้ PLC เขียนคำสั่งและการใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น Delay, Timer, Counter, Trigger, Memory, Input, Output
    Upload, download, online monitor, save - backup program กับ PLC
  • นักศึกษาได้ทดลองการทำงานกับ PLC จริง

เนื้อหาการเรียน PLC

  • Status bit-Dependent instructions
  • Accumulator Functions
  • Instructions with Real Numbers
  • Indirect Addressing and Address Register Instructions
  • Step 7 data type and Variables
  • Block calls and Multi-Instance model
  • Using Libraries
  • Synchronous and Asynchronous Error handling
  • Program Generation using the text editor
  • Basic and Extended S7 communication
  • Distributed I/O and Parameter Assigment
  • Engineering Tools for S7/M7
  • Solutions to the Exercises
  • Appendix-Indirect Access to FC and FB Parameters
  • Data Storage in Data Blocks

เวลาเรียน

  • 3 วัน
  • 9.00-17.00 น.
ที่มา  http://www.trainingplc.com

DIY PLC Battery Backup



PLC Battery Backup (ของผม)


- ปกติตาม Part ของมันภายในเป็น Battery Laser Lithium ยี่ห้อ Sanyo รุ่น CR14250SE (รุ่นเก่าตัวใหญ่) และ CR14250SE-R (รุ่นเล็กปัจจุบัน) แรงดัน 3V ความจุกระแส 850 mA 

- อาจจะไม่เหมือนคนอื่นที่ให้ความสำคัญว่าต้องเป็นสินค้าของบริษัท เพราะงานของหลายๆคนเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เสี่ยงต่อความเสียหายที่มีมูลค่าสูง บางทีก็ใช้งานตามตารางเวลาที่มีอุณหภูมิใช้งานเป็นตัวแปร เช่น ถ้าทำงานที่อุณหภูมิ 40 องศา ก็จะเปลี่ยนทุกๆ 3 ปี โดยไม่ต้องรอให้เตือน Low Bat หรือไฟต่ำกว่าที่กำหนด เป็นต้น เพื่อความมั่นใจในการทำงานที่ต่อเนื่อง 

- แต่งานที่ใช้เกี่ยวกับไฟจราจร , ระบบอัตโนมัติภายในบ้าน ไม่กระทบหรือเสียหายอะไรมากนัก เขียนโปรแกรมรองรับให้มีระบบเตือนล่วงหน้าเมื่อแบตเตอรี่อ่อน มีเวลาเพียงพอที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อนที่มันจะหมด หรือถ้าหมดจริงแล้วค่าเวลาผิดพลาดก็จะหยุดตัวเองโดยไม่ทำงาน เป็นต้น 


- จึงเลือกใช้ Battery Lithium ยี่ห้อตามภาพ ซึ่งหาง่ายหน่อย ราคาถูก ขนาดเท่ากัน แต่ Volt สูงกว่า คือ 3.6V ความจุของกระแสมากกว่าคือ 950mA ค่า self-discharge ต่ำตามคุณสมบัติของ Battery Backup 


- ไม่มีคำว่า Laser แต่เทคนิคการเชื่อมก็ระบุว่าใช้ Laser ในการเชื่อมเหมือนกัน ซึ่งก็ได้พยายามดูข้อห้ามข้อบังคับต่างๆในคู่มือ PLC แล้วก็มิได้ระบุห้ามไว้ เพียงระบุว่าควรใช้ Battery อายุไม่เกิน 2 ปีจากโรงงานผลิต


- จึงดัดแปลงเปลี่ยนให้กับ PLC ที่ติดตั้งและทำงานอยู่ทุกวันนี้มากกว่า 10 ปีแล้วละ ตั้งแต่ C40H , CPM2A , CQM1 , CJ1 จนถึง CJ2 สามารถใช้สาย Connector เดิม โดยใช้หัวแร้งถอดออกจาก 3V ตัวเก่า เชื่อมกับ 3.6V ตัวใหม่ให้ถูกขั้ว หรือถ้าอยากทำไว้สำรองก็ต้องไปหาซื้อขั้วต่อและที่ย้ำหัวมา แล้วย้ำขั้วต่อและเชื่อมสายเองเพื่อเก็บสำรองไว้ใช้งานก็ได้ จากนั้นให้ใส่ท่อหดให้เรียบร้อยก็พร้อมติดตั้ง..



- ควรใช้ Battery ที่มีการ Spot ขั้วไว้แล้ว จะได้เชื่อมสายได้ง่าย ยืนยันว่ายังไม่เกิดปัญหาหรือผลกระทบแต่อย่างใด แต่ละก้อนใช้งานเกินกว่า 5 ปีทั้งนั้น




















ขอบคุณที่มา  https://www.facebook.com/131automation

Sinking & Sourcing Output


- เป็นประเภท Transistor Output ของ PLC ที่เป็น NPN และ PNP ที่ให้เลือกใช้ ทั้งนี้เพื่อ On-Off หรือปล่อย-หยุดกระแสไฟที่ผ่าน Output เป็นพื้นฐานที่เราต้องทำความเข้าใจมันเหมือนกัน ว่าต่างกันตรงไหนบ้าง ใช้งานอย่างไร ซึ่ง Load บางตัวต่อได้ทั้ง 2 แบบ เช่น Relay (ตัวเดียว) หรือ Lamp แต่บางอุปกรณ์ก็ต้องเจาะจงว่าจะต้องเป็น Output แบบใด เช่น Terminal Realy (หลายตัว) เพราะมีการรวม Common รวมกัน หรือตัวรับสัญญาณ Pulse หรือ PWM ต่างๆ จากการที่ได้ทดลองใช้งานจึงนำความรู้มาแบ่งปัน..ดังนี้ครับ


- ประการแรก Sinking ใช้ Transistor แบบ NPN และ Sourcing ใช้แบบ PNP

- ประการที่สอง การต่อไฟ แบบ Sinking ต้องต่อไปลบที่ Common ส่วนแบบ Sourcing ต้องต่อไปบวกที่ Common

- ประการที่สาม คำว่า Output ความรู้สึกคือการจ่ายกระแสไฟไปควบคุม แต่แบบ Sinking ที่ Output กลับเป็นการรับกระแสไฟที่ต่อผ่าน Load เข้ามาแล้วรวมกันภายใน PLC ออกไปทาง Common ส่วนแบบ Sourcing ที่ Output มีหน้าที่จ่ายกระแสไฟตามความรู้สึกดังกล่าว โดยกระแสไฟจะรวมเข้าทาง Common แล้วแยกจากภายใน PLC จ่ายออกไปทาง Output ที่ต่อกับ Load
ทั้ง 2 แบบเมื่อ Output ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ "1" จะยอมให้กระแสไหลผ่านโหลดจึงครบวงจรสำหรับ Output นั้นๆ จึงทำให้มี Spec หรือข้อกำหนดของแต่ละ Output ว่ารองรับกระแสได้ไม่เกิดเท่าใด และแต่ละ Common รองรับกระแสรวมได้ไม่เกินเท่าใด

- ประการที่สี่ แบบ Sinking พบว่าสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่แรงดันต่างกันได้ดีกว่าแบบ Sourcing ซึ่งส่วนใหญ่การใช้ Power Supply มากกว่า 1 ตัวในวงจรเดียวกัน มักจะต่อไฟลบเป็น Common ร่วมกันเพื่อกำหนดให้แรงดันที่ไฟลบดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 0V และบางกรณีใช้ Power Supply ตัวเดียวแต่ใช้อุปกรณ์ Step Up หรือ Step Down เพื่อแยกใช้งานมากกว่า 1 แรงดัน อุปกรณ์ดังกล่าวมักจะรวมไฟลบเป็น Common เดียวกันที่ 0V เช่นกัน การที่จะรวมไฟบวกแล้วแยกจ่ายไฟลบอาจมีก็ได้แต่ยังไม่เคยพบและยังไม่เคยทดลอง ถ้าทำได้ก็สามารถทำกับ Output แบบ Sourcing ได้เช่นกัน

- ประการที่ห้า กรณี Common หนึ่งมีเพียง Output เดี่ยว ไม่ว่าจะเป็น Sinking หรือ Sourcing ถ้าต่อตามคู่มือก็จะเป็นไปตามนั้น แต่หากต่อ Load สลับฝั่งไปที่ด้านของ Common ก็จะทำงานแบบตรงข้ามได้เหมือนกัน จึงเป็นได้ทั้งแบบ Sinking หรือ Sourcing ก็ได้ แก้ปัญหาการใช้งานในบางกรณีได้
*ทดสอบแต่เฉพาะ Omron ยี่ห้ออื่นไม่เคยทดสอบนะครับ.. หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัย..
Step Down Power Supply
- บางครั้งก็มีความสำคัญกับงานระบบ PLC ที่จำเป็นต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไม่เท่ากัน โดยเฉพาะที่น้อยกว่า 24 VDC เช่น Lamp , Relay ฯลฯ หรือ Interface กับอุปกรณ์ที่แรงดันต่ำกว่า 24VDC
- เดี๋ยวนี้จีนผลิตจำหน่ายราคาถูกมาก มีหลายแบบหลายขนาด บางรุ่นก็มี 7 Segment แสดงแรงดัน/กระแส ในตัวให้เสร็จ ซื้อมาประกอบเองน่าจะแพงกว่าด้วยซ้ำ แยกแรงดันแล้วใช้งานกับ Output แบบ Sinking ได้สบาย



ขอบคุณที่มา  https://www.facebook.com/131automation/