- เป็นประเภท Transistor Output ของ PLC ที่เป็น NPN และ PNP ที่ให้เลือกใช้ ทั้งนี้เพื่อ On-Off หรือปล่อย-หยุดกระแสไฟที่ผ่าน Output เป็นพื้นฐานที่เราต้องทำความเข้าใจมันเหมือนกัน ว่าต่างกันตรงไหนบ้าง ใช้งานอย่างไร ซึ่ง Load บางตัวต่อได้ทั้ง 2 แบบ เช่น Relay (ตัวเดียว) หรือ Lamp แต่บางอุปกรณ์ก็ต้องเจาะจงว่าจะต้องเป็น Output แบบใด เช่น Terminal Realy (หลายตัว) เพราะมีการรวม Common รวมกัน หรือตัวรับสัญญาณ Pulse หรือ PWM ต่างๆ จากการที่ได้ทดลองใช้งานจึงนำความรู้มาแบ่งปัน..ดังนี้ครับ
- ประการแรก Sinking ใช้ Transistor แบบ NPN และ Sourcing ใช้แบบ PNP
- ประการที่สอง การต่อไฟ แบบ Sinking ต้องต่อไปลบที่ Common ส่วนแบบ Sourcing ต้องต่อไปบวกที่ Common
- ประการที่สาม คำว่า Output ความรู้สึกคือการจ่ายกระแสไฟไปควบคุม แต่แบบ Sinking ที่ Output กลับเป็นการรับกระแสไฟที่ต่อผ่าน Load เข้ามาแล้วรวมกันภายใน PLC ออกไปทาง Common ส่วนแบบ Sourcing ที่ Output มีหน้าที่จ่ายกระแสไฟตามความรู้สึกดังกล่าว โดยกระแสไฟจะรวมเข้าทาง Common แล้วแยกจากภายใน PLC จ่ายออกไปทาง Output ที่ต่อกับ Load
ทั้ง 2 แบบเมื่อ Output ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ "1" จะยอมให้กระแสไหลผ่านโหลดจึงครบวงจรสำหรับ Output นั้นๆ จึงทำให้มี Spec หรือข้อกำหนดของแต่ละ Output ว่ารองรับกระแสได้ไม่เกิดเท่าใด และแต่ละ Common รองรับกระแสรวมได้ไม่เกินเท่าใด
- ประการที่สี่ แบบ Sinking พบว่าสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่แรงดันต่างกันได้ดีกว่าแบบ Sourcing ซึ่งส่วนใหญ่การใช้ Power Supply มากกว่า 1 ตัวในวงจรเดียวกัน มักจะต่อไฟลบเป็น Common ร่วมกันเพื่อกำหนดให้แรงดันที่ไฟลบดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 0V และบางกรณีใช้ Power Supply ตัวเดียวแต่ใช้อุปกรณ์ Step Up หรือ Step Down เพื่อแยกใช้งานมากกว่า 1 แรงดัน อุปกรณ์ดังกล่าวมักจะรวมไฟลบเป็น Common เดียวกันที่ 0V เช่นกัน การที่จะรวมไฟบวกแล้วแยกจ่ายไฟลบอาจมีก็ได้แต่ยังไม่เคยพบและยังไม่เคยทดลอง ถ้าทำได้ก็สามารถทำกับ Output แบบ Sourcing ได้เช่นกัน
- ประการที่ห้า กรณี Common หนึ่งมีเพียง Output เดี่ยว ไม่ว่าจะเป็น Sinking หรือ Sourcing ถ้าต่อตามคู่มือก็จะเป็นไปตามนั้น แต่หากต่อ Load สลับฝั่งไปที่ด้านของ Common ก็จะทำงานแบบตรงข้ามได้เหมือนกัน จึงเป็นได้ทั้งแบบ Sinking หรือ Sourcing ก็ได้ แก้ปัญหาการใช้งานในบางกรณีได้
- ประการที่สอง การต่อไฟ แบบ Sinking ต้องต่อไปลบที่ Common ส่วนแบบ Sourcing ต้องต่อไปบวกที่ Common
- ประการที่สาม คำว่า Output ความรู้สึกคือการจ่ายกระแสไฟไปควบคุม แต่แบบ Sinking ที่ Output กลับเป็นการรับกระแสไฟที่ต่อผ่าน Load เข้ามาแล้วรวมกันภายใน PLC ออกไปทาง Common ส่วนแบบ Sourcing ที่ Output มีหน้าที่จ่ายกระแสไฟตามความรู้สึกดังกล่าว โดยกระแสไฟจะรวมเข้าทาง Common แล้วแยกจากภายใน PLC จ่ายออกไปทาง Output ที่ต่อกับ Load
ทั้ง 2 แบบเมื่อ Output ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ "1" จะยอมให้กระแสไหลผ่านโหลดจึงครบวงจรสำหรับ Output นั้นๆ จึงทำให้มี Spec หรือข้อกำหนดของแต่ละ Output ว่ารองรับกระแสได้ไม่เกิดเท่าใด และแต่ละ Common รองรับกระแสรวมได้ไม่เกินเท่าใด
- ประการที่สี่ แบบ Sinking พบว่าสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่แรงดันต่างกันได้ดีกว่าแบบ Sourcing ซึ่งส่วนใหญ่การใช้ Power Supply มากกว่า 1 ตัวในวงจรเดียวกัน มักจะต่อไฟลบเป็น Common ร่วมกันเพื่อกำหนดให้แรงดันที่ไฟลบดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 0V และบางกรณีใช้ Power Supply ตัวเดียวแต่ใช้อุปกรณ์ Step Up หรือ Step Down เพื่อแยกใช้งานมากกว่า 1 แรงดัน อุปกรณ์ดังกล่าวมักจะรวมไฟลบเป็น Common เดียวกันที่ 0V เช่นกัน การที่จะรวมไฟบวกแล้วแยกจ่ายไฟลบอาจมีก็ได้แต่ยังไม่เคยพบและยังไม่เคยทดลอง ถ้าทำได้ก็สามารถทำกับ Output แบบ Sourcing ได้เช่นกัน
- ประการที่ห้า กรณี Common หนึ่งมีเพียง Output เดี่ยว ไม่ว่าจะเป็น Sinking หรือ Sourcing ถ้าต่อตามคู่มือก็จะเป็นไปตามนั้น แต่หากต่อ Load สลับฝั่งไปที่ด้านของ Common ก็จะทำงานแบบตรงข้ามได้เหมือนกัน จึงเป็นได้ทั้งแบบ Sinking หรือ Sourcing ก็ได้ แก้ปัญหาการใช้งานในบางกรณีได้
*ทดสอบแต่เฉพาะ Omron ยี่ห้ออื่นไม่เคยทดสอบนะครับ.. หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัย..
Step Down Power Supply
- บางครั้งก็มีความสำคัญกับงานระบบ PLC ที่จำเป็นต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไม่เท่ากัน โดยเฉพาะที่น้อยกว่า 24 VDC เช่น Lamp , Relay ฯลฯ หรือ Interface กับอุปกรณ์ที่แรงดันต่ำกว่า 24VDC
- เดี๋ยวนี้จีนผลิตจำหน่ายราคาถูกมาก มีหลายแบบหลายขนาด บางรุ่นก็มี 7 Segment แสดงแรงดัน/กระแส ในตัวให้เสร็จ ซื้อมาประกอบเองน่าจะแพงกว่าด้วยซ้ำ แยกแรงดันแล้วใช้งานกับ Output แบบ Sinking ได้สบาย
ขอบคุณที่มา https://www.facebook.com/131automation/
- บางครั้งก็มีความสำคัญกับงานระบบ PLC ที่จำเป็นต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไม่เท่ากัน โดยเฉพาะที่น้อยกว่า 24 VDC เช่น Lamp , Relay ฯลฯ หรือ Interface กับอุปกรณ์ที่แรงดันต่ำกว่า 24VDC
- เดี๋ยวนี้จีนผลิตจำหน่ายราคาถูกมาก มีหลายแบบหลายขนาด บางรุ่นก็มี 7 Segment แสดงแรงดัน/กระแส ในตัวให้เสร็จ ซื้อมาประกอบเองน่าจะแพงกว่าด้วยซ้ำ แยกแรงดันแล้วใช้งานกับ Output แบบ Sinking ได้สบาย
ขอบคุณที่มา https://www.facebook.com/131automation/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น